   |
|
 |
 |
|
 |
|
|
  |
|
“ตำบลหนองกระทุ่ม” มีประวัติความเป็นมาตามคำเล่าขานของผู้เฒ่าเล่าว่า ชุมชนเดิมของหนองกระทุ่ม ตั้งอยู่ที่สาธารณะหนองเด่นใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ซึ่งเดิมมีต้นกระทุ่มขึ้นมากมาย คนในสมัยนั้นจึงเรียกชื่อตามสภาพแวดล้อมว่า “หนองกระทุ่ม” ชุมชนหนองกระทุ่ม มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มากมาย เช่น ภาษาลาวครั่ง ประเพณีการสู่ขวัญ งานประเพณียกธงสงกรานต์ (วันที่ 18 เมษายนทุกปี) ประเพณีแห่ดอกไม้ การละเล่นผีนางด้ง การทำบุญรวมญาติในวันสงกรานต์ ประเพณีสารทลาว สารทไทย งานตักบาตรเทโว งานลอยกระทง งานประจำปีปิดทองพระหลวงพ่อบุญ(วันเพ็ญเดือนสาม) ของวัดหนองกระทุ่ม นอกจากนี้ยังมีศาลตาเจ้าบ้าน(ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.2) ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือของชาวหนองกระทุ่มและใกล้เคียง โดยจะมีงานทำบุญศาลตาเจ้าบ้านในเดือน ๗ ของทุกปี ซึ่งจะมีประชาชนที่นับถือตาเจ้าบ้านจำนวนมากมาร่วมกันประกอบพิธีสักการะ โดยมีผู้ทำพิธี(กวน)เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ปกป้องคุ้มครองรักษาในทุกเรื่อง และชาวหนองกระทุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธจะหยุดทำงานในวันพระ(ในวันพระ ๘ ค่ำและวันพระ ๑๕ ค่ำ) โดยจะนำอาหารหวานคาวไปร่วมกันทำบุญใส่บาตรที่วัด และในช่วงเย็นจะมีการสวดมนต์ถือศีลด้วย |
|
|
  |
|
สำนักงานเทศบาลตำบลกระทุ่ม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๑ หมู่ที่ ๓ บ้านหนองปอ (ที่ นสล.
เด่นสระสิม) ตำบลหนองกระทุ่ม
อำเภอเดิมบางนางบวช ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของ
จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมบางนางบวชประมาณ ๓๑ กิโลเมตร
และห่างจากตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ ๗๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๗๒.๘๙
ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๓,๒๗๐ ไร่ |
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อ |
ต.สุขเดือนห้า อ.เนินขาม จ.ชัยนาท |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อ |
ต.หนองโพธิ์ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรีและ
ต.แจงงาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อ |
ต.บ่อกรุ จ.สุพรรณบุรี |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อ |
ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี |
|
|
|
  |
|
ประชากร ทั้งสิ้น ๑,๕๐๖ ครัวเรือน จำนวน ๔,๘๙๗ คน ประกอบด้วย |

 |
ชาย ๒,๔๓๖ คน คิดร้อยละ ๔๙.๗๔ |

 |
หญิง ๒,๔๖๑ คน คิดร้อยละ ๕๐.๒๖ |

 |
ความหนาแน่นเฉลี่ย ๖๘ คน / ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
  |
|
รูปธง หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงถึงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่สืบสาน
กันมายาวนานของหมู่บ้านหนองกระทุ่ม
คือ ประเพณียกธงสงกรานต์
รูปเมฆ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้าที่สูงขึ้น
สรุปตราสัญลักษณ์ หมายถึง ตำบลหนองกระทุ่ม เป็นชุมชนที่เข้มแข็งทางศิลปะ
วัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลหนองกระทุ่มได้สืบสานวัฒนธรรม
ประเพณีภาษาท้องถิ่น(ภาษา
ลาวครั่ง) ซึ่งสืบสานกันมายาวนาน กิจกรรมในงานประเพณียกธงสงกรานต์ชาวบ้านทุกบ้าน
ในตำบลร่วมกันจัดทำธง
เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเสมือนเป็นการสิ้นสุดประเพณีสงกรานต์
ของตำบลในปีนั้น |
|
|
  |
|
ลักษณะภูมิอากาศเป็นมรสุม มี ๓ ฤดู คือ |

 |
ฤดูร้อน |
เริ่มตั้งแต่ |
เดือน มีนาคม |
ถึง |
เดือน มิถุนายน |

 |
ฤดูฝน |
เริ่มตั้งแต่ |
เดือน กรกฎาคม |
ถึง |
เดือน ตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว |
เริ่มตั้งแต่ |
เดือน พฤศจิกายน |
ถึง |
เดือน กุมภาพันธ์ |
|
|
  |
|
ลักษณะพื้นที่ทั่วไปมีความลาดของพื้นที่จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือลงไป ทิศตะวันตก
เฉียงใต้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับที่ลูกคลื่นลอนลาด มีความสูงจากระดับน้ำทะเล
ปานกลาง ๒๕ - ๒๖ เมตร โดยจะสูงจากทิศตะวันตกแล้วค่อยลาดลง
ทางทิศตะวันออก
สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปน ทราย เป็นพื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่ซับน้ำทำให้
การปลูกพืชไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
และดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว บางส่วนเป็นดินเหนียว
มี คลองส่งน้ำชลประทาน ของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ ๒ จำนวน ๒ สาย
ได้แก่ คลอง ๑
ซ้าย และคลอง ๑ ขวา ๑ ซ้าย และคูน้ำ จำนวน ๑๘ สาย ทำให้พื้นที่บางส่วนเหมาะแก่
การเพาะปลูกพืช โดยเฉพาะทำนาข้าว
ทำไร่อ้อย เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
  |
|
อาชีพหลัก |
|

 |
ไร่อ้อย |
คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๖๘ |
|

 |
ข้าวนาปี |
คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๗๘ |
|

 |
มันสำปะหลัง |
คิดเป็นร้อยละ ๗.๖๖ |
|

 |
ข้าวนาปรัง |
คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๘ |
|
|
รวมทั้งหมด |
๑๐๐ |
|
|
 |
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
๑ |
บ้านหนองกระทุ่ม |
๕๔๖ |
๕๔๘ |
๑,๐๙๔ |
๓๕๓ |
|
|
๒ |
บ้านหนองกระทุ่ม |
๔๐๘ |
๓๙๔ |
๘๐๒ |
๒๔๑ |
|
|
๓ |
บ้านหนองปอ |
๒๑๒ |
๒๓๖ |
๔๔๘ |
๑๓๐ |
|
|
๔ |
บ้านหนองปลาดุก |
๗๐ |
๗๒ |
๑๔๒ |
๔๖ |
|
|
๕ |
บ้านหนองกอก |
๒๐๐ |
๒๒๙ |
๔๒๙ |
๑๒๗ |
|
|
๖ |
บ้านหนองนา |
๒๕๑ |
๒๔๙ |
๕๐๐ |
๑๕๙ |
|
|
๗ |
บ้านหนองอิงพิง |
๓๔๒ |
๓๔๘ |
๖๙๐ |
๒๒๐ |
|
|
๘ |
บ้านหนองหิน |
๒๗๐ |
๒๕๐ |
๕๒๐ |
๑๔๙ |
|
|
๙ |
บ้านโศกไฮ่ |
๑๓๗ |
๑๓๕ |
๒๗๒ |
๘๑ |
|
 |
|
รวม |
๒,๔๓๖ |
๒,๔๖๑ |
๔,๘๙๗ |
๑,๕๐๖ |
 |
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
   |
|